ประวัติ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17
รองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ (เกิด 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2509) ชื่อเล่น ทริป เป็นนักการเมือง นักธุรกิจ อาจารย์ และวิศวกรชาวไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 17 หลังชนะการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2565 เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการและอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบา ลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ในการดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เขาเป็นที่รู้จักจากข้อเสนอสร้างทางรถไฟความเร็วสูงภายใต้กรอบวงเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท แต่ถูกศา ลรัฐธรร มนูญตีตกไป และยังมีภาพลักษณ์เป็น รัฐมนตรีที่แข็งแกร่งที่สุดในปฐพี จากภาพหิ้วถุงอาหารในปี พ.ศ. 2556 และทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมาอย่ างต่อเนื่องโดยเฉพาะบนสื่อสังคม ที่มีการนำภาพไปทำเป็นอินเทอร์เน็ตมีมในรูปแบบต่าง ๆ
ต่อมาเขาลาออกจากพรรคเพื่อไทย เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครปี 2565 และชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนสูงที่สุดในประวัติศาสตร์
ประวัติ
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ เป็นบุตรคนสุดท้องของพลตำรวจเอก เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) กับจิตต์จรุง (สกุลเดิม: กุลละวณิชย์) บุตรของพลตำรวจเอก พิชัย กุลละวณิชย์ อดีตรัฐมนตรี ส่วนพลเอก พิจิตร กุลละวณิชย์ อดีตองคมนตรี และอดีตรองผู้บัญชาการทหารสูงสุด มีศักดิ์เป็นอา
เขามีพี่น้องร่วมบิดามารดาสองคน คือ
รศ. ปรีชญ า สิทธิพันธุ์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย
รศ. นพ. ฉันชาย สิทธิพันธุ์ กรรมการแพ ทยสภาวาระ พ.ศ. 2562–2564 คณบดีคณะแพ ทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย และผู้อำนวยการโรงพย าบา ลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
ชัชชาติสำเร็จการศึกษ าระดับมัธยมศึกษ าจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิท ยาลัย และโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษ า จากนั้นได้เข้าศึกษ าต่อด้านวิศวกรรมโยธา จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย จนสำเร็จการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง
และได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ในปี พ.ศ. 2529 เพื่อเข้าศึกษ าต่อในระดับปริญญ าโทด้านวิศวกรรมโครงสร้างจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญ าเอกด้านวิศวกรรมโครงสร้างจากมหาวิทย าลัยอิลลินอย เออร์แบนา-แชมเปญจน์ สหรัฐอเมริกา ภายหลังจบการศึกษ าได้กลับมาเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย
นอกจากนี้เขายังสำเร็จการศึกษ าบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย และยังสำเร็จการอบรมหลักสูตรอีกจำนวนหนึ่ง เช่น หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารงานพัฒนาเมือง (มหานคร รุ่นที่ 4) วิทย าลัยพัฒนามหานคร มหาวิทย าลัยนวมินทราธิราช และหลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทย าการตลาดทุน (วตท. รุ่นที่ 22) เป็นต้น
ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
วันแรกหลังการเลือกตั้ง มีภาพชัชชาติลงพื้นที่ตรวจคลองลาดพร้าวพร้อมกับวิโรจน์ ลักขณาอดิศร อดีตผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการ กทม. และว่าที่สมาชิกสภากรุงเทพมหานครจากพรรคก้าวไกลอีกจำนวนหนึ่ง แต่ชัชชาติปฏิเสธการดึงวิโรจน์เข้าร่วมทีม พร้อมบอกว่าวิโรจน์สามารถ “ไปได้อีกไกล”
ในวันที่ 24 พฤษภาคม เขาให้สัมภาษณ์ว่าพร้อมแก้ไขปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวร่วมกับคณะรัฐมนตรี แต่ให้ความเห็นว่าควรปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2562
ในการเลือกตั้ง ชัชชาติถูกร้องเรียนในเรื่องการนำป้ายเลือกตั้งมาทำกระเป๋าผ้า และการดูถูกระบบราชการ อย่ างไรก็ตาม กกต. รับรองผลการเลือกตั้งในอีก 9 วันต่อมา
ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ชัชชาติได้เข้ารับหนังสือรับรองการเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ที่สำนักงาน กกต. จากนั้นจึงเดินทางไปยังศา ลาว่าการ กทม. เสาชิงช้า เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และลงนามในพิธีมอบหมายงาน พร้อมเปิดตัวคณะรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ได้แก่ จักกพันธุ์ ผิวงาม อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, รศ.วิศณุ ทรัพย์สมพล อดีตรองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทย าลัย , ผศ.ทวิดา กมลเวชช อดีตคณบดีคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทย าลัยธรร มศาสตร์ และศานนท์ หวังสร้างบุญ นักกิจกรรมเพื่อสังคม
นอกจากนี้ยังเปิดตัวคณะที่ปรึกษ า ซึ่งหนึ่งในคณะที่ปรึกษ า คือ พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม อีกทั้งแต่งตั้งเอกวรัญญู อัมระปาล อดีตผู้ประกาศข่าววอยซ์ทีวี เป็นโฆษก กทม. วันเดียวกันเขาให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ปีงบประมาณ 2565 กทม. เหลืองบประมาณเพียง 94 ล้านบาท โดยเขาระบุว่าสามารถทำงานได้และไม่ใช้งบประมาณเยอะ